30/8/55

บทบาทของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง


  ในการดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิผล จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง สถานศึกษาจะสามารถนำไปปรับปรุงและเลือกปฏิบัติได้ตามความเหมาะสมและความพร้อมของแต่ละสถานศึกษา คือ บทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษา
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4 มาตรา 29 และหมวด 5 มาตรา 40 ที่มุ่งเน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน เพื่อทำหน้าที่ กำกับ และส่งเสริมสนับสนุนในการบริหารจัดการในสถานศึกษานั้น คณะกรรมการสถานศึกษาควรมีบทบาทในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบ มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย เป้าหมายและดำเนินการ
1.1 มีส่วนร่วมในการวางแผน วิเคราะห์การจัดกิจกรรมของสถานศึกษา
1.2 ให้ความเห็นชอบแผนการจัดกิจกรรมของสถานศึกษา
1.3 มีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดกิจกรรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1.4 มีส่วนร่วมในการประเมินผล เพื่อปรับปรุงและพัฒนาในโอกาสต่อไป
2. ส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินการจัดกิจกรรมของสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ
2.1 ด้านงบประมาณ กรรมการสถานศึกษาต้องมีส่วนในการจัดหางบประมาณ สนับสนุนการจัดกิจกรรม วัสดุภัณฑ์ เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรม
2.2 เป็นวิทยากรและแนะนำวิทยากร คณะกรรมการสถานศึกษาส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ ผู้แทนองค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้แทนชุมชน ผู้แทน
ผู้ปกครอง และศิษย์เก่า ซึ่งล้วนแต่มีศักยภาพในตัวเอง ฉะนั้นจึงสามารถเป็นวิทยากรหรือจัดหาวิทยากรภายนอกในกรณีที่ขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่กำหนดในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2.3 ให้คำปรึกษาและส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการจัดกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียน ควรกำหนดให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของ
วัฒนธรรมท้องถิ่น และตระหนักในหน้าที่ในการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น
2.4 เป็นแหล่งศึกษาและแหล่งข้อมูล กรรมการสถานศึกษาจะต้องมีการประสานสัมพันธ์กับแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น ที่เป็นโรงงาน สถานประกอบการ แหล่งวิทยาการต่าง ๆ เพื่อให้ความร่วมมือในการใช้เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติกิจกรรม และเป็นแหล่งศึกษาดูงานตามความต้องการของผู้เรียนในแต่ละกิจกรรม

ไม่มีความคิดเห็น: